อาหารทารก…วิธีรับประทานอาหารสำหรับเด็กตามวัยตั้งแต่แรกเกิด – 1 ขวบ

857
อาหารทารก

คุณแม่มือใหม่คงมีเรื่องให้ต้องใส่ใจลูกน้อยเยอะแยะมากมายจนหัวหมุน หนึ่งในเรื่องสำคัญก็คืออาหารทารก แน่นอนว่าช่วงครึ่งปีแรก อาหารที่ดีที่สุดสำหรับเด็กแรกเกิดก็คือนมแม่ แต่หลังจากทารกเริ่มรับประทานอาหารอ่อนได้ คุณแม่ต้องเริ่มพิถีพิถันใส่ใจเป็นพิเศษ ทั้งระดับความหยาบหรือละเอียดของอาหาร รสชาติ คุณค่า และรูปแบบการรับประทานที่เหมาะกับพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย

าหารทารกตามวัย

อาหารทารกตามวัย

ทารกแรกเกิด – 4 เดือน

พัฒนาการของเด็ก:

  • ทารกจะหันหน้าเข้าหน้าอกแม่
  • มีปฏิกิริยาตอบสนองกับวัตถุที่มาสัมผัสโดยการใช้ลิ้นดุน สามารถดูดและกลืนได้

เมนูอาหารที่แนะนำ:

  • ของเหลวเท่านั้น คือ นมแม่

จำนวนมื้ออาหาร:

  • วันละ 6-8 มื้อ รวมตอนกลางคืน

ทารกอายุ 4-6 เดือน

พัฒนาการของเด็ก:

  • ทารกในช่วงนี้จะทรงตัวได้ดีขึ้น สามารถชันคอ และคว้าของได้
  • จะสังเกตได้ว่าเริ่มนำสิ่งของเข้าปาก และขยับปากขึ้นลงเป็นการบดเคี้ยวอาหาร
  • แต่ยังไม่สามารถรับประทานอะไรได้ เป็นเพียงช่วงเตรียมความพร้อมสำหรับการรับประทานอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลว

เมนูอาหารที่แนะนำ:

  • ของเหลวเท่านั้น คือ นมแม่

จำนวนมื้ออาหาร:

วันละ 6-8 มื้อ รวมตอนกลางคืน

ทารกอายุ 6-8 เดือน

พัฒนาการของเด็ก:

  • ทารกสามารถทรงตัวจนนั่งได้ ถือขวดนมได้
  • สามารถเคี้ยวและกลืนอาหารอ่อนได้ จึงควรเลือกอาหารกึ่งแข็งกึ่งเหลวเพราะช่วยฝึกให้รู้จักเคี้ยว

เมนูอาหารที่แนะนำ:

  • ข้าวต้มบดละเอียด
  • ผักใบเขียวหรือเหลืองส้มที่กลิ่นไม่แรง เช่น ตำลึง ผักบุ้ง ฟักทอง แครอท
  • ไข่แดง ตับไก่บด กล้วยสุกบด
  • เต้าหู้ปลา ให้รับประทานเนื้อปลาได้แต่ต้องระวังก้างเป็นพิเศษ

จำนวนมื้ออาหาร:

วันละ 1-2 มื้อ

ทารกอายุ 8-10 เดือน

พัฒนาการของเด็ก:

  • ทารกเริ่มใช้นิ้วมือได้ดีขึ้น จากที่หยิบจับข้าวของได้เพียงอย่างเดียว เริ่มกำช้อนได้บ้าง และหยิบอาหารที่เป็นชิ้นเข้าปากรับประทานเองได้
  • สามารถเคี้ยวอาหารได้ดีขึ้น จึงให้รับประทานอาหารที่มีความแข็งหรือหยาบมากขึ้นได้ เช่น ข้าวบดก็บดให้หยาบมากขึ้นได้

เมนูอาหารที่แนะนำ:

  • ข้าวต้มบดพอหยาบๆ ไข่ตุ๋น
  • อาหารชิ้นที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หยิบรับประทานเองได้ อย่างฟักทองนึ่ง มันต้ม
  • ผลไม้เนื้อนิ่มหั่นชิ้นเล็ก ผักกลิ่นไม่แรง เช่น ตำลึง ผักบุ้ง แครอท
  • เนื้อสัตว์บด เช่น ตับไก่ ปลา หมูสับหรือบด

จำนวนมื้ออาหาร:

  • วันละ 2 มื้อ

ทารกอายุ 10-12 เดือน

พัฒนาการของเด็ก:

  • ทารกควบคุมนิ้วชี้และนิ้วหัวแม่มือได้ดีขึ้น หยิบจับช้อนได้ดีขึ้นจนสามารถป้อนตัวเองได้บ้าง
  • เริ่มมีฟันน้ำนมขึ้นทำให้เคี้ยวได้ดีขึ้น ถือถ้วยชามได้เอง

เมนูอาหารที่แนะนำ:

  • ข้าวต้มบดพอหยาบๆ ไข่ตุ๋น
  • อาหารชิ้นที่หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ หยิบรับประทานเองได้ อย่างฟักทองนึ่ง มันต้ม
  • ผลไม้เนื้อนิ่มหั่นชิ้นเล็ก
  • ผักกลิ่นไม่แรง เช่น ตำลึง ผักบุ้ง แครอท
  • เนื้อสัตว์บด เช่น ตับไก่ ปลา หมูสับหรือบด
  • อาหารแบบของผู้ใหญ่แต่ดัดแปลงให้นิ่ม ชิ้นเล็ก และรสต้องไม่จัด

จำนวนมื้ออาหาร:

  • วันละ 3 มื้อ

หมายเหตุ: อาหารที่รับประทานจะคล้ายช่วง 8-10 เดือน แต่เพิ่มปริมาณมากขึ้น

ยิ่งลูกน้อยเติบโตมากขึ้น ก็จะรับประทานอาหารด้วยตนเองได้เก่งขึ้น ซึ่งระหว่างที่เริ่มให้รับประทานอาหารก็ยังต้องให้ดื่มนมแม่หรือนมชงควบคู่กันไปด้วย และพยายามให้ลูกค่อยๆ เลิกขวดนมเมื่ออายุใกล้ครบ 1 ปี เพื่อที่จะได้เตรียมพร้อมสำหรับการรับประทานอาหารที่เป็นผู้ใหญ่ขึ้นในช่วงวัยต่อไป